การศึกษาและทุนการศึกษา

ทุนการศึกษาและเงินอุดหนุน

ทุนการศึกษาและเงินสนับสนุนต่อเนื่องเป็นส่วนหนึ่งของโครงการหลักของมูลนิธิฯ ตั้งแต่ปี 2546 มูลนิธิฯได้มอบทุนการศึกษาแก่นักเรียนมัธยมโรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง และนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่มีผลการศึกษาดีเด่น  และมีความรับผิดชอบต่อสังคม มีความเป็นผู้นำ จนถึงปัจจุบันจำนวน 60 คน

โครงการ ห้องสมุดสัญจร

โครงการห้องสมุดสัญจร เป็นโครงการที่สนับสนุนให้เด็ก อ่าน เขียน ฟัง และเล่าเรื่องให้เพื่อนๆฟัง รถเคลื่อนที่เต็มไปด้วยหนังสืออ่านนอกเวลา และนิตยสาร หลากหลายตระเวณไปยัง 20 โรงเรียน รอบนอกลำปางทุกเดือน ตลอดปีการศึกษา เพื่อนำหนังสือใหม่ๆไปหมุนเวียนสับเปลี่ยนให้เด็กนักเรียน เจ้าหน้าที่ของเราจะมีกิจกรรมให้เด็กมีส่วนร่วมส่งเสริมการอ่าน การเขียน การเล่าเรื่อง และการฟัง เพื่อให้เด็กสนใจ และ สนุก  สนับสนุนให้เด็กเล่าให้เพื่อนฟังถึงเรื่องที่เขาได้อ่าน เพื่อเป็นการฝึกพูด  การเข้าสังคมและอยู่ร่วมกับผู้อื่น

ห้องทดลองวิทยาศาสตร์

ตั้งแต่ปี 2549  มูลนิธิฯได้สร้างและปรับปรุงห้องทดลองวิทยาศาสตร์ชั้นประถม มัธยมต้น และมัธยมปลายที่โรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง เป็นห้องทดลองฟิสิกส์  ห้องทดลองเคมี และห้องทดลองชีววิทยา เราส่งเสริมให้โอกาสคณะครูจากโรงเรียนอัสสัมชัญเข้ารับการฝึกอบรมกับ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ เพื่อพัฒนาทักษะในการสอนวิทยาศาตร์ เป็นประจำทุกปี

ความเป็นอยู่และการฝึกทักษะการดำรงชีวิต

ชุมชนส่วนใหญ่ของลำปางมีรายได้จากการกสิกรรม   เรามีโครงการการพัฒนาทักษะการดำรงชีวิต  ทั้งทางทฤษฎี และความรู้ด้านการกสิกรรมที่สาธิตให้เห็นความสำคัญของการใช้ชีวิตในชุมชนอย่างยั่งยืน  โครงการนำร่อง 2 โครงการ – โครงการออมทรัพย์ และ โครงการฟาร์มแพะ ในปี 2558 มูลนิธิฯ ได้สอนให้เด็กนักเรียนออมเงิน โดยหลักการธนาคารแบบง่ายๆ มูลนิธิฯเปิดบัญชีธนาคารให้กับเด็ก 20 โรงเรียน โดยเปิดบัญชีให้คนละ 50 บาท โครงการนำร่องนี้ ส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้การจัดการเงินออมของตน และสร้างนิสัยในการออม ในปีเดียวกันเราได้เริ่มโครงการสอนเด็กนักเรียนให้ทำฟาร์มแพะสอนให้เลี้ยงและให้ดูแลแพะ ปลูกผักสวนครัว เพื่อช่วยเหลือสร้างรายได้ สร้างอาชีพให้ตนเอง และครอบครัว

หอศิลป์ลำปาง

หอศิลป์ลำปางเป็นเรือนไทยทรงล้านนา ตั้งอยู่ที่กาดกองต้า ถนนตลาดเก่า ท่ามกลางอาคารเก่าที่ทรงคุณค่าหลังอื่นๆอีกมากมาย มูลนิธินิยมได้ทำการบูรณะ  ในปี พ.ศ. 2549  เป็นเรือนไม้สัก หลังคาทรงจั่วและมีลวดลายฉลุ สวยงามแบบล้านนา  เป็นบ้านหลังเดียวในจำนวนไม่กี่หลังที่บูรณะให้อยู่ในรูปแบบเดิมให้มากที่สุด   ในปี 2550 กรรมการสถาปนิกสยามได้มอบรางวัลสถาปัตยกรรมดีเด่น ประเภทอาคารอนุรักษ์สถาปัตยกรรมล้านนาให้แก่อาคารหลังนี้

หอศิลป์ลำปางได้จัดสถานทีเพื่อแสดงงานศิลปะให้กับศิลปินลำปาง นักเรียน และบุคคลทั่วไป ที่มีผลงานศิลปะแขนงต่างๆ สนับสนุนให้มีการสอนการวาดภาพทั้งแบบดั้งเดิมและแบบร่วมสมัย การปั้น การแกะสลักไม้

พื้นที่จัดแสดง

หอศิลป์ลำปาง จัดนิทรรศการเพื่อแสดงผลงานของศิลปินท้องถิ่น และศิลปินอื่นทุกเดือน ศิลปินสามารถแสดงผลงานได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย เป็นระยะเวลา 1 เดือน และจัดการสอนให้กับชุมชนระหว่างที่จัดนิทรรศการ ผู้เข้าชมสามารถเข้าชมนิทรรศการได้ ในเวลาทำการ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ

ศูนย์สร้างสรรค์

ชุมชนสำปางมีทั้งศิลปินท้องถิ่นและศิลปินร่วมสมัย  นอกจากนั้นเรายังใกล้ชิดกับศิลปินในเชียงใหม่ ซึ่งได้มาเปิดอบรมที่หอศิลป์ลำปางเสมอๆ ขอข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อ admin@plclampang.org

ศูนย์การเรียนรู้ปัทมะเสวี/มุมทำงานร่วมกัน (Co-Learning, Co-Working Library)

ศูนย์การเรียนรู้ปัทมะเสวี เป็นห้องสมุดและห้องเรียนรู้ และมุมทำงานมีนิตยสารทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ  อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และเครื่องพิมพ์สำหรับกิจกรรมอ่านและเขียน สำหรับนักเรียนและบุคคลทั่วไป ทุกช่วงอายุที่สนใจใช้บริการ

ศิลปินอยู่เหย้า

เรามีศิลปินที่พักอาศัยอยู่ในบริเวณหอศิลป์ฯ ศิลปินสามารถเข้าพักได้ที่นี่เป็นระยะสั้นเพื่อสร้างผลงานหรือจัดนิทรรศการ สนใจติดต่อ 0 5423 0651 หรือ admin@plclampang.org

ปฏิทินกิจกรรม

ข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรม จองสถานที่เพื่อจัดนิทรรศการหรือจัดงานอื่น โปรดเข้าหน้าเฟสบุ๊ค หรือ ที่อีเมล์ admin@plclampang.org

สถานที่ตั้งและเวลาทำการ

หอศิลป์ลำปางตั้งอยู่ที่ 256 ถนนตลาดเก่า ตำบลสวนดอก อำเภอเมืองลำปาง ลำปาง 52100 ศูนย์การเรียนรู้ตั้งอยู่หลังหอศิลป์ลำปาง

หอศิลป์ลำปาง

ศุกร์  : 11.00 น. – 18.00 น.

เสาร์ – อาทิตย์ : 13.00 น. – 21.00 น.

ศูนย์การเรียนรู้ปัทมะเสวี

อังคาร – ศุกร์  :  11.00 น. – 18.00 น.

หอศิลปะการแสดงนครลำปาง  บ้านบริบูรณ์

วัฒนธรรมคงอยู่ได้ เมื่อได้รับการจัดแสดงและเฉลิมฉลอง บ้านบริบูรณ์ได้รับการบูรณะเพื่อเป็นเวทีการแสดงในชุมชน บ้านบริบูรณ์เป็นหนึ่งในอาคารที่เก่าที่สุดของลำปางที่สามารถเล่าเรื่องประวัติศาสตร์ของเมืองลำปางได้มากมาย   มูลนิธิฯได้รับความช่วยเหลือจากนักประวัติศาสตร์  นักมนุษยวิทยาและสถาปนิกที่มีความชำนาญในการอนุรักษ์อาคารเก่าให้คงแบบเดิม  บ้านนี้ปัจจุบันใช้จัดงานสัมมนาวิชาการ จัดการแสดงนิทรรศการ และเป็นเวทีการแสดงศิลปะวัฒนธรรมพื้นบ้าน

ห้องฝึกสอนสำหรับเยาวชน

มูลนิธิฯจัดให้มีชั้นเรียน การแสดงสำหรับนักเรียนชั้นประถมและมัธยมตลอดปี รำล้านนาแบบดั้งเดิมและการแสดงกลองปู่จา (กลองพิธีแบบดั้งเดิม) งานหัตถกรรม งานไม้ งานปั้น โดยจัดสอนเป็นรอบๆ โดยประสานงานกับโรงเรียนต่างๆในการจัดหลักสูตร ทำให้สดวกต่อนักเรียนและครูที่เข้าร่วมหลักสูตร ลำปางเป็นจังหวัดที่มีศิลปินชั้นครูและการแสดงวัฒนธรรมที่มีชื่อเสียงหลายท่านได้สละเวลาเข้ามามีส่วนร่วม หากท่าน สนใจเป็นอาสาสมัครสอนงานศิลป์ โปรดติดต่อที่ admin@plclampang.org

การฟ้อนรำและการแสดงดนตรี

บ้านบริบูรณ์จัดเวทีแสดงการรำและดนตรีพื้นบ้าน การแสดงชุดใหญ่จัดแสดงที่สนามหญ้าข้างนอก สำหรับการแสดงชุดเล็กสามารถจัดในอาคารได้

นิทรรศการศิลปวัฒนธรรม

มีการแสดงพิเศษ ผ้าพื้นเมือง ของประดิษฐ์ และหัตถกรรมต่างๆหลายครั้งในรอบปี  นิทรรศการจะเน้นถึงประวัติศาสตร์ของลำปาง ความหลากหลายของวัฒนธรรม

ปฏิทินกิจกรรม

ข้อมูลกิจกรรม การจองจัดนิทรรศการ  จัดงาน  โปรดเข้าเฟสบุ๊คของเรา
หรืออีเมล์ : admin@pattamasaevi.org

เวลาทำการ

บ้านบริบูรณ์ตั้งอยู่ที่ 34 ถนนทิพย์วรรณ ตำบลสวนดอก อำเภอเมืองลำปาง ลำปาง 52100 ไม่ไกลจากแม่น้ำวัง และอยู่ในบริเวณกาดกองต้า ตลาดนัดสุดสัปดาห์

เวลาเปิด  เสาร์ – อาทิตย์  : 18.00 – 21.00 หรือโดยนัดหมาย

การอนุรักษ์มรดก สถาปัตยกรรม

การอนุรักษ์มรดก สถาปัตยกรรม

ลำปางมีสถาปัตยกรรม สิ่งก่อสร้างโบราณ และวัดที่มีเอกลักษณ์หลายแห่งอยู่ในสภาพทรุดโทรม และไม่ได้ใช้งาน มูลนิธิฯ มีความตั้งใจและแสวงหาโอกาสที่จะได้ร่วมบูรณะอาคารประวัติศาสตร์ในลำปางให้กลับมาเป็นสถาปัตยกรรมที่งดงาม และมีสภาพที่สามารถใช้งานเพื่อประโยชน์ของชุมชนได้ต่อไป อาณาจักรล้านนาในอดีตมี ลำปางเป็นชุมทางทางวัฒนธรรมมาเป็นเวลานานทั้งไทย พม่า อินเดีย เขมร ลาว และจีน บรรพชนเหล่านี้ได้ทิ้งร่องรอยศิลปะวัฒนธรรม อาหารการกิน ดนตรีการแสดง และสถาปัตยกรรมแบบต่างๆไว้

ช่วงปี พ.ศ.2343 ลำปางเป็นศูนย์กลางการค้าไม้สัก เป็นที่ตั้งของบริษัทจากอังกฤษที่ได้รับสัมปทานทำไม้ค้าไม้สักจากรัฐบาลไทย โดยมีพ่อค้าชาวพม่า อินเดีย จีน และลาว ร่วมงานในอดีต สิ่งเหล่านี้ทำให้เห็นความหลากหลายทางวัฒนธรรม จากแบบสถาปัตยกรรม บ้านอยู่อาศัย สถานที่ราชการ วัด และสถานที่สักการะอื่น เมื่อการค้าไม้สักและการค้าสมัยใหม่ย้ายไปที่ลำพูนและเชียงใหม่ อาคารเก่าๆหลายแห่งถูกละทิ้ง และไม่ได้ใช้เป็นที่พักอาศัยอีกต่อไป

ปัจจุบัน  มูลนิธิฯ ได้บูรณะหอศิลป์ลำปาง จากบ้านไม้สักโบราณแบบล้านนาที่มีชื่อว่า “อาคารสิงคะ”และบ้านบริบูรณ์  บ้านสไตล์พม่าผสมยุโรปแบบบ้านขนมปังขิงแบบดั้งเดิม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดให้เป็นประโยชน์แก่สาธารณชน  มูลนิธิฯยังได้สนับสนุนการบูรณะศาลา วัดท่ามะโอและวัดเชตวัน ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่ทิ่มีสถาปัตยกรรมที่สำคัญ

ที่กรุงเทพ มูลนิธิฯ ได้บูรณะ (บี พี เฮ้าส์) อาคารฝรั่งหลังคาปั้นหยาอายุกว่า 80 ปี เป็นที่ตั้งสำนักงานของ มนทาระ ฮอสพิตาลิตี้ กรุ๊ป ไว้เช่นกัน ข้อมูลการบูรณะแต่ละอาคาร โปรดติดต่อ admin@pattamasaevi.org